เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ รสายตนะเป็นปัจจัยแก่
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้ง
โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ โผฏฐัพพายตนะและกายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ
โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยปุเรชาตปัจจัย (1)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[400] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่
เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย
(พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง
เป็นอุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง
เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยปัจฉาชาตปัจจัย (3)
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :235 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 67. อุปาทาทุกะ 7. ปัญหาวาร
กัมมปัจจัย
[401] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
และกฏัตตารูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปโดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่
เป็นอุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย (2)
ภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูปและ
ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปและที่ไม่เป็นอุปาทายรูปโดยกัมมปัจจัย (3)

วิปากปัจจัย
[402] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งไม่เป็นอุปาทายรูปเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มี 3 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :236 }